ความเป็นมาของศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้เริ่มโครงการ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา” (University Business Incubator : UBI) ในช่วงปลายปี พ.ศ.๒๕๕๗ โดยมีเป้าหมายให้ UBI ในสถาบันอุดมศึกษา ทำหน้าที่บ่มเพาะให้เกิด “ผู้ประกอบการใหม่” (Entrepreneurs) และ “บริษัทจัดตั้งใหม่” (Start-up Companies) ที่จะได้รับการดูแลให้มีพัฒนาการเติบโต โดยใช้ข้อได้เปรียบจากสภาพแวดล้อมทางวิชาการ เสริมสร้างความเข้มแข็งและสามารถพัฒนาเป็น “บริษัทธุรกิจเต็มรูปแบบในอนาคต” (Spin-off Companies) รวมทั้งเป็นช่องทางการนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่สร้าง ในสถาบันอุดมศึกษาพัฒนาสู่กระบวนการใช้งานเชิงพาณิชย์ สร้างวงจรรายได้ผลประโยชน์กลับสู่สถาบันอุดมศึกษาและประเทศในระยะยาว
โดยมีเป้าหมายหลักของการจัดตั้ง PSRUBI คือ ทำหน้าที่สร้าง สนับสนุน และพัฒนานักศึกษาและนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม บ่มเพาะให้เกิด “ผู้ประกอบการใหม่” (Entrepreneurs) และ “บริษัทจัดตั้งใหม่” (Start-up Companies) ที่จะได้รับการดูแลให้มีพัฒนาการเติบโตโดยใช้ข้อได้ เปรียบจากสภาพแวดล้อมทางวิชาการ เสริมสร้างความเข้มแข็งและสามารถพัฒนาเป็น “บริษัทธุรกิจเต็มรูปในอนาคต” (Spin-off Companies) รวมทั้งเป็นช่องทางการนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่สร้างในสถาบันอุดมศึกษาพัฒนาสู่กระบวนการใช้งานเชิงพาณิชย์ สร้างวงจรรายได้ ผลประโยชน์กลับสู่สถาบันอุดมศึกษาและประเทศในระยะยาว ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งและดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จึงได้กำหนดโครงสร้างการดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ โดยใช้ระบบการบริหารงานแบบผสมผสานที่มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ จากบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยฝ่ายต่างๆ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านวิชาการ วิทยาการ เทคโนโลยี ผสมผสานร่วมกับบุคลากรจากภายนอกที่มีประสบการณ์ทางด้านกิจกรรมการบ่มเพาะวิสาหกิจ ในการให้คำปรึกษา แนะนำ เพื่อให้กิจกรรมบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ก่อนจะแยกตัวออกสู่การเป็นผู้ประกอบการที่เข้มแข็งในภาคธุรกิจต่อไป
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ได้จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไปให้มีศักญภาพการเป็นผู้ประกอบการใหม่ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เป็นต้นไป